เลนส์โปรเกรสซีฟเป็นตัวเลือกทางการแพทย์ที่ปลอดภัยที่สุดในปัจจุบัน ในการแก้ไขภาวะสายตายาวตามวัย ที่สามารถพบได้ตั้งแต่วัย 40 ปีขึ้นไป ซึ่งภาวะสายตายาวตามวัย เป็นภาวะที่หลีกเหลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากเป็นความเสื่อมอย่างหนึ่งที่เกิดจากกล้ามเนื้อตาแล้วก็เลนส์ตา ในปัจจุบันนี้ พบว่ามีคนที่ใช้งานสายตาเยอะๆ อาจจะพบภาวะนี้ได้เร็วกว่า ตั้งแต่วัย 30 ปลายๆ เป็นต้นไป เลนส์โปรเกรสซีฟถูกคิดค้นเมื่อปี 1959 นักวิทยาศาสตร์เนี่ย ต้องการที่จะแก้ไขปัญหาสายตายาวตามวัย แล้วก็คิดค้นเลนส์ที่สามารถมองเห็นได้ในทุกๆ ระยะ โดยเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตเลนส์ ก็จะเป็นการใส่ค่าสายตาเป็นร้อยๆ ค่าสายตาในเลนส์เพียงชิ้นเดียว   โครงสร้างของเลนส์โปรเกรสซีฟ แบ่งออกเป็น 4 โซนด้วยกัน โซนแรก เป็นโซนการมองไกล โซนที่ 2 คือเป็นโซนการมองระยะกลางะ โซนที่ 3 เป็นโซนการมองระยะใกล้ โดยทั้งสามโซนนี้ จะถูกเกลี่ยค่าสายตากัน โดยไม่มีเส้นรอยต่อหรือเส้นแบ่งเลย แล้วส่วนข้อจำกัดจะอยู่ในโซนที่ 4 ก็คือเป็นโซนของการมองเห็นภาพบิดเบือนซึ่งอยู่ด้านข้างสองฝั่งของเลนส์   ส่วนประโยชน์ของตัวเลนส์โปรเกรสซีฟนะคะ หมอขอแบ่งออกเป็นข้อ ๆ ดังนี้ ช่วยในการถนอมสายตา เนื่องจากการไล่ค่าสายตาของเลนส์โปรเกรสซีฟ ทำให้คนไข้สามารถโฟกัสได้คมชัดในทุก ๆ ระยะ ช่วยในเรื่องของความสะดวกสบาย เนื่องจากคนไข้ไม่ต้องพกแว่นหลายๆ ตัว แล้วก็ไม่ต้องเสียเวลาในการถอดแว่นเข้า-ออก...

สายตายาวตามวัย หรือสายตาผู้สูงอายุ หรือที่เรานิยมเรียกกันว่า สายตายาว คือ ภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนเมื่อถึงอายุ 30 ปลายๆ สาเหตุของสายตายาวเกิดจาก ความเสื่อมของเลนส์ตาและกล้ามเนื้อตา ที่ก่อนวัย 40 เลนส์ตายืดหยุ่นดี แต่เมื่อเข้าวัย 40 ปี จะเสียความยืดหยุ่น ในการพองตัวออก ทำให้การมองระยะใกล้ไม่ชัดเหมือนเดิม ตาพร่ามัว โดยเฉพาะการอ่านหนังสือ ซึ่งสายตายาว ไม่สามารถหายเองได้ แต่มีวิธีการชะลอและแก้ไขที่จะมาแนะนำให้ทุกคนฟังกันคะ   อาการที่สามารถสังเกตเองได้ง่ายๆ ว่าเราเริ่มมีปัญหาสายตายาว สำหรับคนที่ไม่เคยใส่แว่นมาก่อน เวลาอ่านหนังสือระยะใกล้ไม่ชัด ต้องยืดแขนออกถึงทำให้ดูชัดเจนขึ้น (โดยเฉพาะที่มีแสงน้อย คือ ตามัวเวลากลางคืน) ผู้ที่มีสายตาสั้น ที่ใส่แว่นอยู่แล้วเวลามองไกล เมื่อจะอ่านหนังสือต้องยกแว่นขึ้นถึงจะชัดขึ้น การโฟกัสภาพจากใกล้มาไกล หรือ ไกลมาใกล้ยาก อาการ ตาล้า ปวดหัว ปวดตา เวลาใช้งานระยะใกล้เป็นเวลานาน   การรักษาสายตายาว มีหลายวิธี เลนส์แว่นตา แบ่งออกเป็น 4 ชนิดย่อย เลนส์ชั้นเดียว คือต้องมีแว่น 2 อัน สำหรับ มองไกล...

สาเหตุ และวิธีการรักษา   มองสองตาแล้วเห็นภาพแยก แต่มองด้วยตาเดียวเห็นปกติ   เกิดจากการทำงานผิดปกติของมัดกล้ามเนื้อตา อาจเกิดจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงจึงทำงานน้อยไป หรือถ้ากล้ามเนื้อที่แข็งแรงแต่ทำงานมากไป ทำให้มีการทำงานไม่สมดุลกันในขณะที่เหลือบตา ส่วนผู้ที่มีกล้ามเนื้อตาปกติ ดวงตาทั้งสองข้างจะถูกควบคุมด้วยกล้ามเนื้อตาให้หมุนไปในทิศทางเดียวกันและองศาเท่าๆกัน เพื่อให้แสงวิ่งเข้าสู่ตาไปตกโฟกัสอยู่ที่ตำแหน่งเดียวกันของตาแต่ละข้างได้อย่างพอดี จึงไม่ทำให้เกิดอาการเห็นภาพซ้อน เมื่อกล้ามเนื้อตาทำงานไม่ปกติ อาจแสดงอาการตาเหล่ตาเขออกมาด้วย โดยผู้อื่นอาจจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีมุมองศาเหล่มาก-น้อยเพียงใด   วิธีแก้ไข – สวมแว่นสายตาที่มีปริซึม เป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่มีมีผลข้างเคียงต่อดวงตาและการมองเห็น – การบริหารกล้ามเนื้อตา เป็นวิธีที่ปลอดภัย ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่ต้องทำเป็นประจำสม่ำเสมอ – การฉีดโบทูลินั่มท็อกซิน (Botox) เพื่อให้กล้ามเนื้อตาคลายตัว ใช้ได้กับกรณีที่สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อตาทำงานมากไปเท่านั้น – ใส่อุปกรณ์ปิดตาข้างใดข้างหนึ่ง วิธีนี้ภาพซ้อนจะหายหมด แต่สูญเสียพื้นที่การมองเห็นไปปริมาณหนึ่ง – ผ่าตัดแก้ไขตำแหน่งกล้ามเนื้อตา เป็นการแก้ไขอย่างถาวร อาจมีผลข้างเคียงหลังจากผ่าตัดได้ ควรปรึกษารับการวินิจฉัยโดยจักษุแพทย์   มองด้วยตาเดียวแล้วเห็นภาพแยก เป็นแค่ข้างเดียวหรือเป็นทั้งสองข้างก็ได้   ภาวะนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยส่วนมากสาเหตุที่พบเจอได้บ่อย ได้แก่ – มีค่าสายตาเอียง สูงเกิน -4.00D ขึ้นไป – มีโรคทางตา เช่น ต้อกระจก ต้อเนื้อ กระจกตาโป่งพอง ความผิดปกติบนจอประสาทตา – มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน...

เมื่อยุคสมัยของโลกเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ช่วงโลกาภิวัฒน์ สื่อการเรียนรู้หรือข้อมูลข่าวสารต่างๆมักจะมาในรูปแบบออนไลน์และมีบทบาทในสังคมแบบเต็มรูปแบบ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการใช้สายตาของเด็กๆในปัจจุบันนี้มีความแตกต่างจากอดีต จากฐานข้อมูลในปัจจุบันจะพบว่าเด็กในช่วงวัย5-12ปี มีอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าสายตาสั้นอย่างรวดเร็ว ผู้ปกครองก็คงจะมีความกังวลไม่น้อยต่อสุขภาพตาและการมองเห็นของลูกตนเอง ดังนั้นบทความนี้เราจะมาจำแนกวิธีแก้ไขแบบต่างๆ ทั้งข้อดี-ข้อด้อย รวมถึงคำแนะนำจากOccuraให้ได้พิจารณากัน   เช็คเลย 3 วิธี ชะลอสายตาสั้นในเด็ก ปัญหาที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย   วิธีที่ 1 เลนส์ชะลอสายตาสั้นในเด็ก   เป็นวิธีที่มีความปลอดภัยต่อเด็กสูงสุด เนื่องจากแว่นตาจะไม่สัมผัสกับดวงตา (เป็นการรักษาแบบ non-invasive) ทำให้ลดความเสี่ยงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่นการติดเชื้อ ตาอักเสบ เป็นต้น เลนส์ถูกออกแบบมาเพื่อชะลอความยาวกระบอกตาด้วยทฤษฎีลดจำนวน Peripheral Defocus คือการดึงแสงที่โฟกัสตกหลังจอประสาทตาให้กลับมาโฟกัสพอดีบนจอประสาทตาให้ได้มากที่สุด ข้อมูลทางสถิติในตอนนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นวิธีที่ได้ผลลัพธ์อยู่ในระดับปานกลาง-ค่อนสูง อย่างไรก็ตามเรื่องความปลอดภัยถือว่าเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก จึงทำให้เลนส์ชะลอสายตาสั้นกลายเป็นวิธีที่Occuraแนะนำมากที่สุด   – ผลการทดลองทางคลินิกเป็นเวลา 2 ปีพบว่าการใช้เลนส์แว่นตา MiYOSMART ทุกวันทำให้สายตาสั้นช้าลงโดยเฉลี่ยกว่า 50% เมื่อเทียบกับการใส่เลนส์สายตาชั้นเดียวแบบมาตรฐาน   วิธีที่ 2 ใช้ยาหยอดขยายม่านตา (Atropine)   ในอดีต วิธีนี้เป็นวิธีป้องกันการเพ่งที่ใช้ควบคุมค่าสายตาในช่วงระยะเวลาสั้นๆที่ได้ผลลัพธ์สูง แต่ก็มีผลข้างเคียงจากตัวยาที่มากพอกัน เช่น ตามัวมองไม่ค่อยเห็นทำให้เรียนลำบาก รวมถึงมีผลต่อการทำงานของหลอดเลือดและหัวใจ หากหยุดใช้ยาก็จะพบว่ากลับมามีค่าสายตาสั้นเพิ่มขึ้นอีกครั้ง   วิธีที่...