เช็คเลย 3 วิธี ชะลอสายตาสั้นในเด็ก ปัญหาที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย

เมื่อยุคสมัยของโลกเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ช่วงโลกาภิวัฒน์ สื่อการเรียนรู้หรือข้อมูลข่าวสารต่างๆมักจะมาในรูปแบบออนไลน์และมีบทบาทในสังคมแบบเต็มรูปแบบ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการใช้สายตาของเด็กๆในปัจจุบันนี้มีความแตกต่างจากอดีต จากฐานข้อมูลในปัจจุบันจะพบว่าเด็กในช่วงวัย5-12ปี มีอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าสายตาสั้นอย่างรวดเร็ว ผู้ปกครองก็คงจะมีความกังวลไม่น้อยต่อสุขภาพตาและการมองเห็นของลูกตนเอง ดังนั้นบทความนี้เราจะมาจำแนกวิธีแก้ไขแบบต่างๆ ทั้งข้อดี-ข้อด้อย รวมถึงคำแนะนำจากOccuraให้ได้พิจารณากัน

 

เช็คเลย 3 วิธี ชะลอสายตาสั้นในเด็ก ปัญหาที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย

 

วิธีที่ 1 เลนส์ชะลอสายตาสั้นในเด็ก

 

เป็นวิธีที่มีความปลอดภัยต่อเด็กสูงสุด เนื่องจากแว่นตาจะไม่สัมผัสกับดวงตา (เป็นการรักษาแบบ non-invasive) ทำให้ลดความเสี่ยงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่นการติดเชื้อ ตาอักเสบ เป็นต้น เลนส์ถูกออกแบบมาเพื่อชะลอความยาวกระบอกตาด้วยทฤษฎีลดจำนวน Peripheral Defocus คือการดึงแสงที่โฟกัสตกหลังจอประสาทตาให้กลับมาโฟกัสพอดีบนจอประสาทตาให้ได้มากที่สุด ข้อมูลทางสถิติในตอนนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นวิธีที่ได้ผลลัพธ์อยู่ในระดับปานกลาง-ค่อนสูง อย่างไรก็ตามเรื่องความปลอดภัยถือว่าเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก จึงทำให้เลนส์ชะลอสายตาสั้นกลายเป็นวิธีที่Occuraแนะนำมากที่สุด

 

– ผลการทดลองทางคลินิกเป็นเวลา 2 ปีพบว่าการใช้เลนส์แว่นตา MiYOSMART ทุกวันทำให้สายตาสั้นช้าลงโดยเฉลี่ยกว่า 50% เมื่อเทียบกับการใส่เลนส์สายตาชั้นเดียวแบบมาตรฐาน

 

วิธีที่ 2 ใช้ยาหยอดขยายม่านตา (Atropine)

 

ในอดีต วิธีนี้เป็นวิธีป้องกันการเพ่งที่ใช้ควบคุมค่าสายตาในช่วงระยะเวลาสั้นๆที่ได้ผลลัพธ์สูง แต่ก็มีผลข้างเคียงจากตัวยาที่มากพอกัน เช่น ตามัวมองไม่ค่อยเห็นทำให้เรียนลำบาก รวมถึงมีผลต่อการทำงานของหลอดเลือดและหัวใจ หากหยุดใช้ยาก็จะพบว่ากลับมามีค่าสายตาสั้นเพิ่มขึ้นอีกครั้ง

 

วิธีที่ 3 ใส่คอนแทคเลนส์กดกระจกตา (Ortho-K)

 

คือการใส่คอนแทคเลนส์ชนิดแข็งในระหว่างนอนหลับ ถูกออกแบบมาเพื่อเปลี่ยนรูปร่างของกระจกตาให้ค่าสายตาเปลี่ยนแปลงไปตามที่ต้องการ แต่ต้องใส่นอนทุกวันอย่างสม่ำเสมอจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีและต่อเนื่อง หากหยุดใช้คอนแทคเลนส์ก็จะกลับมามีค่าสายตาสั้นเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ความยากของวิธีนี้คือการใส่-ถอดอย่างถูกวิธี ผู้ปกครองต้องมีความรู้รวมถึงเด็กต้องให้ความร่วมมือ เช่น ไม่ขยี้ตาขณะใส่คอนแทคเลนส์หรือพยายามถอดออก เป็นต้น เนื่องจากมีเงื่อนไขในการใช้งานหลายข้อ ทำให้การใช้งานมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

 

สรุป

 

– ทางเลือกเลนส์ชะลอสายตาสั้นจะเหมาะกับผู้ปกครองที่ต้องการความปลอดภัยและสามารถใช้งานได้จริงในระยะยาว

 

– ทางเลือกยาขยายม่านตาจะเหมาะกับผู้ปกครองที่คาดหวังให้ได้ผลลัพธ์สูงแบบรวดเร็วทันใจในระยะสั้นๆ แต่ต้องอยู่ในความดูแลของจักษุแพทย์เสมอ และเมื่อผ่านไปช่วงระยะเวลาหนึ่งควรเปลี่ยนมาใช้เลนส์ชะลอสายตาสั้นที่ปลอดภัยกว่าแทน

 

– ทางเลือกคอนแทคเลนส์กดกระจกตาจะแนะนำเป็นลำดับสุดท้าย เพราะมีความเสี่ยงต่อตามากที่สุด หากใช้งานผิดวิธีอาจมี side effect ความรุนแรงได้หากไม่ดูแลให้ดี

 

ทางที่ดี ควรศึกษาข้อมูลและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างนักทัศนมาตร หรือจักษุแพทย์ เพื่อหาวิธีการป้องกันและรักษาที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน

No Comments

Post A Comment